วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ( ผศ.สมคิด ดวงจักร )

ข้อสอบวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ( ผศ.สมคิด ดวงจักร )
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ ในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือวิลัยเทคนิคสมุทรสงคราม สามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กร โดยการนำคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศมาใช้ในการในการเรียนการสอน เชื่อมโยงข้อมูลภายในหน่วยงานและการสั่งการจากส่วนกลาง ( สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ) ติดต่อสื่อสาร กับผู้ปกครอง ซึ่งสามารถประยุกต์ระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนงาน โดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
1. การใช้ระบบสารสนเทศกับการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นความรู้ประกอบ นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน การใช้ระบบสารสนเทศจึงมีความสำคัญอย่างมาก สะดวกในการใช้ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหนังสือ ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ ประหยัดเวลาไม่ต้องเดินทางไปค้นคว้าตามห้องสมุดต่างๆ ส่งงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความถูกต้องและแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
2. การใช้ระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูล ภายในหน่วยงานและการสั่งการจากส่วนกลาง
การใช้สารสนเทศด้านบุคลากร สารสนเทศด้านงบประมาณ สารสนเทศด้านพัสดุและครุภัณฑ์ สารสนเทศด้านการเงินและบัญชี สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา สารสนเทศด้านประกันคุณภาพ สารสนเทศด้านแผนงานและวิจัย ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นระบบระเบียบในการเก็บข้อมูล เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการปฏิบัติงาน ทั้งในด้านการคำนวณ ประมวลผล และนำเสนอผลงาน ทั้งยังเป็นส่วนช่วยให้งานที่ทำมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการทำงาน ตัดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของ ส่วนงาน ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการภายในองค์กร
3. สารสนเทศกับการสื่อสาร โดยสามารถติดต่อกับผู้ปกครอง ผู้เรียนผ่านระบบเครือข่าย เช่นติดตามข้อมูลข่าสาร ดูผลการเรียน แสดงความคิดเห็นตลอดจนให้ความรู้และเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆ
4.สารสนเทศกับการบริหารสถานศึกษา ระบบสารสนเทศ พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจของผู้บริหาร ช่วยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลภายในและภายนอกองค์กร ทั้งเป็นผู้รับและผู้เผยแพร่ข่าวสารขององค์กรสู่ภายนอก จึงต้องมีการตรวจสอบความถูกและน่าเชื่อถือของข้อมูล ผู้บริหารต้องสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญต่อการใช้ประกอบการบริหารและการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา ด้วยการใช้ ICT โดยการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้าน ICT และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆการพัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาลโดยมีกลไกกฎระเบียบ โครงการการบริหารและการกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการการยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศให้สูงขึ้นในระดับโลกการผลักดันอุตสาหกรรม ICT ให้มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 20 % และการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนอย่างน้อย 50 % สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้
โดยโครงการที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งวิทยาลัย ICT การพัฒนากฎหมายด้าน ICT พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดตั้งวิทยาลัย ICT
วัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้าน IT
2. การพัฒนากฎหมายด้าน ICT
เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม
3. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังคงบัญญัติหลักการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้บัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป (Open Source) รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย


3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เนื่องจากปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำการด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ ทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไป จากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือวิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรใช้กระบวนการทางกฎหมาย ( กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย ช่วยป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้เกิดความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัยการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตของต่างประเทศ

อาจารย์ศิริรัตน์ เบาใจ
หัวหน้าภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
ตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2544 หน้า 105-119
----------------------------------
ปัจจุบันการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคสารสนเทศงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการศึกษาค้นคว้า จึงขอนำเสนอการวิจัยของต่างประเทศให้ได้ทราบกันดังนี้
Brain Patrick, Beaudrie. (2000). Analysis of group problem solving tasks in a geometry course for teachers using computer-mediated conferencing. MONTANA STATE UNIVERSITY. EdD (online) Available http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9962225
ระหว่างฤดูใบไม้ผลิในปี 1999 ผู้วิจัยมีหน้าที่ดูแลการเรียนวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอนทาน่าและวิชาภูมิศาสตร์สำหรับครูระดับบัณฑิตศึกษา
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของนักศึกษา ที่เรียนภายในวิทยาลัยและไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัยต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเปรียบเทียบระดับของการสื่อสาร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน จำนวน 2 กลุ่ม และ กลุ่มละ 5 คน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพื่อช่วยลดค่าความแปรปรวนซึ่งอาจจะส่งผลกับการวิจัย ในระยะเวลา 11 สัปดาห์ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายภาระกิจให้แก้ปัญหา ซึ่งภาระกิจเหล่านี้เน้นการร่วมมือของนักศึกษาผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยให้มีส่วนร่วมคิดค้น ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอกลยุทธ์ สาธิตวิธีการแก้ปัญหา สรุป และรายงานสิ่งที่กลุ่มค้นพบผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ละข้อความส่งด้วยการวิเคราะห์และจัดอันดับด้วยรูปแบบการวิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์ (The Interaction Analysis Model) ที่พัฒนาโดย Gunawardena, Lowe and Anderson (1997) ผลการวิจัยพบว่าระดับของการสื่อสารไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักศึกษาที่เรียนภายในวิทยาลัย หรือไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัย ระดับของการสื่อสารไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นสมาชิกในกลุ่ม ความสัมพันธ์ด้านบวกขึ้นอยู่ในจำนวนภาระกิจและข้อความที่ส่งระหว่างกลุ่ม ยิ่งมีการส่งข้อความมากเท่าใดยิ่งทำให้งานภายในกลุ่มดีมากขึ้นเท่านั้น ยอดรวมของข้อความในแต่ละภาระกิจจะลดลงระหว่างการเรียน และขณะที่ 2 ใน 4 กลุ่มมีความแตกต่างกันในค่าเฉลี่ยของคะแนนการสื่อสาร พบกลุ่มตัวอย่างเพียง 4 คนจาก 18 คน ที่แสดงถึงความแตกต่างที่ลดลงด้านค่าเฉลี่ยของคะแนนการสื่อสาร ผู้วิจัยสรุปได้ว่าจำนวนและระดับของการสื่อสารระหว่างกลุ่มเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและระดับการสื่อสารของนักศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนภายในวิทยาลัยหรือการไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัย

Daniel E McHorney. (2000). The effectiveness of team building activities and technology workshop as mandatory preparation for an online gradute degree program. PEPPERDINE UNIVERSITY. EhD (online) Available http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9962341
เพื่อประเมินผลการฝึกการสร้างความร่วมมือของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เรียนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การฝึกการสร้างความร่วมมือเป็นการออกแบบเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมในการเรียนซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถชดใช้การขาดการเผชิญหน้าของผู้ร่วมชั้นเรียนได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัย Peperdine ซึ่งเชื่อถือได้การสร้างแบบสอบถามดำเนินการโดยผู้วิจัยได้ส่ง e-mail สำรวจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เรียนจำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มอย่างเจาะจงจากผู้ที่เรียนด้วยวิธีดังกล่าวครบถ้วนแล้ว และไม่นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาคำนวณ เพื่อค้นหาข้อมูลที่จะนำมาสร้างผลสำรวจและสัมภาษณ์ให้ครบถ้วนตามจำนวน และมีค่าความถี่ของความสัมพันธ์ (ค่าร้อยละ) ของข้อมูลถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างที่เหลือใช้ในการตอบแบบสำรวจและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาคาดว่าประโยชน์หลักของวิชา VirtCamp™ ช่วยให้ผู้เรียนสร้างทักษะของการสื่อสารซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกของการมีสังคม และนำไปสู่ขั้นที่สองซึ่งจะแลกเปลี่ยนทัศนะเชิงวิชาการ การเรียนในลักษณะดังกล่าวช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนให้มีกิจกรรมที่อาศัยความร่วมมือ จุดประสงค์อื่นที่เป็นผลพลอยได้คือเป็นการแนะนำนักศึกษาในการใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตซึ่งเคยใช้ในการเรียน VirtCamp™

Gulsun Kurubacak. (2000) Online Learning: A study of students attitudes towards web-based instruction (WBI). Ed.D. University of Cincinnati (online) Available : http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9973125