วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

งานวิจัยการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตของต่างประเทศ

อาจารย์ศิริรัตน์ เบาใจ
หัวหน้าภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
ตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2544 หน้า 105-119
----------------------------------
ปัจจุบันการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคสารสนเทศงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการศึกษาค้นคว้า จึงขอนำเสนอการวิจัยของต่างประเทศให้ได้ทราบกันดังนี้
Brain Patrick, Beaudrie. (2000). Analysis of group problem solving tasks in a geometry course for teachers using computer-mediated conferencing. MONTANA STATE UNIVERSITY. EdD (online) Available http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9962225
ระหว่างฤดูใบไม้ผลิในปี 1999 ผู้วิจัยมีหน้าที่ดูแลการเรียนวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอนทาน่าและวิชาภูมิศาสตร์สำหรับครูระดับบัณฑิตศึกษา
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของนักศึกษา ที่เรียนภายในวิทยาลัยและไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัยต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเปรียบเทียบระดับของการสื่อสาร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน จำนวน 2 กลุ่ม และ กลุ่มละ 5 คน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพื่อช่วยลดค่าความแปรปรวนซึ่งอาจจะส่งผลกับการวิจัย ในระยะเวลา 11 สัปดาห์ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายภาระกิจให้แก้ปัญหา ซึ่งภาระกิจเหล่านี้เน้นการร่วมมือของนักศึกษาผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยให้มีส่วนร่วมคิดค้น ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอกลยุทธ์ สาธิตวิธีการแก้ปัญหา สรุป และรายงานสิ่งที่กลุ่มค้นพบผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ละข้อความส่งด้วยการวิเคราะห์และจัดอันดับด้วยรูปแบบการวิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์ (The Interaction Analysis Model) ที่พัฒนาโดย Gunawardena, Lowe and Anderson (1997) ผลการวิจัยพบว่าระดับของการสื่อสารไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักศึกษาที่เรียนภายในวิทยาลัย หรือไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัย ระดับของการสื่อสารไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นสมาชิกในกลุ่ม ความสัมพันธ์ด้านบวกขึ้นอยู่ในจำนวนภาระกิจและข้อความที่ส่งระหว่างกลุ่ม ยิ่งมีการส่งข้อความมากเท่าใดยิ่งทำให้งานภายในกลุ่มดีมากขึ้นเท่านั้น ยอดรวมของข้อความในแต่ละภาระกิจจะลดลงระหว่างการเรียน และขณะที่ 2 ใน 4 กลุ่มมีความแตกต่างกันในค่าเฉลี่ยของคะแนนการสื่อสาร พบกลุ่มตัวอย่างเพียง 4 คนจาก 18 คน ที่แสดงถึงความแตกต่างที่ลดลงด้านค่าเฉลี่ยของคะแนนการสื่อสาร ผู้วิจัยสรุปได้ว่าจำนวนและระดับของการสื่อสารระหว่างกลุ่มเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและระดับการสื่อสารของนักศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนภายในวิทยาลัยหรือการไม่ได้เรียนภายในวิทยาลัย

Daniel E McHorney. (2000). The effectiveness of team building activities and technology workshop as mandatory preparation for an online gradute degree program. PEPPERDINE UNIVERSITY. EhD (online) Available http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9962341
เพื่อประเมินผลการฝึกการสร้างความร่วมมือของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เรียนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การฝึกการสร้างความร่วมมือเป็นการออกแบบเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมในการเรียนซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถชดใช้การขาดการเผชิญหน้าของผู้ร่วมชั้นเรียนได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัย Peperdine ซึ่งเชื่อถือได้การสร้างแบบสอบถามดำเนินการโดยผู้วิจัยได้ส่ง e-mail สำรวจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เรียนจำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มอย่างเจาะจงจากผู้ที่เรียนด้วยวิธีดังกล่าวครบถ้วนแล้ว และไม่นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาคำนวณ เพื่อค้นหาข้อมูลที่จะนำมาสร้างผลสำรวจและสัมภาษณ์ให้ครบถ้วนตามจำนวน และมีค่าความถี่ของความสัมพันธ์ (ค่าร้อยละ) ของข้อมูลถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างที่เหลือใช้ในการตอบแบบสำรวจและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาคาดว่าประโยชน์หลักของวิชา VirtCamp™ ช่วยให้ผู้เรียนสร้างทักษะของการสื่อสารซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกของการมีสังคม และนำไปสู่ขั้นที่สองซึ่งจะแลกเปลี่ยนทัศนะเชิงวิชาการ การเรียนในลักษณะดังกล่าวช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนให้มีกิจกรรมที่อาศัยความร่วมมือ จุดประสงค์อื่นที่เป็นผลพลอยได้คือเป็นการแนะนำนักศึกษาในการใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตซึ่งเคยใช้ในการเรียน VirtCamp™

Gulsun Kurubacak. (2000) Online Learning: A study of students attitudes towards web-based instruction (WBI). Ed.D. University of Cincinnati (online) Available : http://wwwlib.umi.com/disertations/fullcit/9973125